สนุก! ความรู้
http://www.chiangmaiflying.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 HOME

 MAP

 HOW TO GO

 GALLERY

 VIDEO

 WEB BOARD

 LINK

 CONTACT

 LOCATION

สถิติ

เปิดเว็บ20/02/2009
อัพเดท27/10/2023
ผู้เข้าชม995,492
เปิดเพจ1,339,503

บริการ

AIRFIELD
AIRCRAFT
CLUB
MEMBERSHIP
LEARN TO FLY
HOW TO GO
เว็บบอร์ด
GALLERY
VIDEO
THAI SATELLITE
RAIN RADAR
NORTH CENTER (MET OFFICE)
GOOGLE TRANSLATOR

จะเป็นนักบินไมโครไลท์จะต้องทำอย่างไรบ้าง

(อ่าน 20735/ ตอบ 11)

กฤช

สวัสดีครับ
     ผมตั้งใจจะเผยแพร่วิธีการดำเนินการเพื่อให้ท่านผู้อ่านทราบถึงวิธีการที่ถูกต้องในการเป็นนักบินไมโครไลท์นานแล้ว..วันนี้ก็ขอทยอยนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
     ก่อนอื่นก็แนะนำให้ท่านรู้จักกับไมโครไลท์นี้กันก่อนนะครับ
     ตามกฎหมายของกรมการบินพลเรือนของไทย ได้จัดอากาศยานไมโครไลท์เข้าเป็นประเภทอากาศยานเบาพิเศษ เพื่อจะให้วิธีการดำเนินการต่างๆ อยู่ในระเบียบข้อบังคับของอากาศยานเบาพิเศษ ซึ่งในประเภทนี้ก็จะมีอากาศยานอื่นอีกเช่น อัลตราไลท์ และก็ประเภท Fixed Wing อื่นๆ หรือ เครื่องบินขนาดเล็ก ที่มีน้ำหนักรวมอุปกรณ์จำเป็น(แต่ไม่รวมสัมภาระ นักบิน ผู้โดยสาร) ไม่เกิน 250 กก.และน้ำหนักสูงสุดขณะบินขึ้นไม่เกิน 500 กก.
     คำว่าไมโครไลท์ ในต่างประเทศจะเรียกรวมๆ เป็นอากาศยานเบาพิเศษ ทั้งที่เป็น Fixed Wing และ Flexed Wing แต่ในไทยจะหมายถึงอากาศยานที่ทีลักษณะเป็น Flexed Wing ใช้การบังคับแบบ Weight Shift Control   หรือเรียกชนิดอากาศยานว่า Delta Wing หรือปีกสามเหลี่ยมนั่นเอง ปีกจะทำด้วยผ้าชนิดพิเศษ ที่หุ้มโครงโลหะ(อลูมิเนียมเกรดพิเศษ)ที่มีความแข็งแรงเอาไว้ และปีกจะมีจุดแขวนลำตัวของอากาศยานเอาไว้

Link: คลิ๊กที่นี่

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 11/01/2011 - 16:19

กฤช

ต่อไป..ก็ขอเกริ่นเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ..ก็คือการใช้อากาศยานทำการบินซึ่งมีกฎหมายกำหนดไว้...ห้ามมิให้ผู้ใดนำอากาศยานทำการบิน เว้นแต่มีสิ่งเหล่านี้ไปกับอากาศยาน
   1. ใบสำคัญการจดทะเบียน หรือที่เรียกกันว่า C of R 
   2. เครื่องหมายสัญชาติและทะเบียน
   3. ใบสำคัญสมควรเดินอากาศ หรือที่เรียกกันว่า C of A (เข้าใจอย่างง่ายๆ ว่าใบรับรองการตรวจสภาพพร้อม
       ทำการบินนั่นเอง)
   4. สมุดปูมเดินทาง หรือที่เรียกกันว่า Log Book
   5. ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่  (ใบอนุญาตนักบิน)
   6. ใบอนุญาตเครื่องวิทยุสื่อสาร(ถ้ามี หรือกรณีที่ต้องใช้)
   7. ใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคล (หมายความว่าเจ้าของเครื่องเป็นผู้ขออนุญาตใช้อากาศยานลำนั้นๆ
       แต่จะอนุญาตให้นักบินท่านใดทำการบินจะต้องขอเป็นรายๆไป (ขอเพิ่มชื่อได้ตามความจำเป็นและเหตุผล ทั้งนี้ต้องกรอกแบบฟอร์มประวัติบุคคลยื่นให้กับกรมการบินพลเรือนเพื่อตรวจสอบด้วย) 
   8. ประกันภัยอากาศยานสำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ฯลฯ ต่อบุคคลที่สาม ตามเงื่อนไขและวงเงินที่
       กำหนด (สำหรับไมโครไลท์ของสนามจะชำระค่าประกันอยู่ที่ลำละ 3,999.- บาทต่อปีครับ 

www.chiangmaiflying.com

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 26/04/2011 - 10:31

กฤช

ขอต่อเรื่องอากาศยานอีกนิดนะครับ..
.....ใบสำคัญการจดทะเบียน หรือที่เรียกกันว่า C of R นี้ จะทำครั้งแรกที่ท่านซื้ออากาศยานมา(ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท) แต่จะต้องทำใหม่ หากใบสำคัญสมควรเดินอากาศ หรือที่เรียกกันว่า C of A ตามข้อ 3 ขาดอายุเกิน 6 เดือน ซึ่งใบสำคัญสมควรเดินอากาศนี้ต้องต่ออายุทุกปี ค่าธรรมเนียมปีละ 1,000 บาท
     สำหรับใบอนุญาตใช้อากาศยานส่วนบุคคลตามข้อ 7 นั้นจะมีอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียมครั้งละ 2,000 บาท 
     ส่วนประกันภัยอากาศยานสำหรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ฯลฯ ต่อบุคคลที่สาม ตามข้อ 8 นั้น จะต้องต่ออายุทุกปี ซึ่งจะการระบุเงื่อนไขไว้ในท้ายใบอนุญาตใช้อากาศยานว่าห้ามทำการบินหากไม่มีประกันภัยครอบคลุมขณะทำการบิน
     สำหรับใบอนุญาตวิทยุคมนาคม..หากเป็นการใฃ้อากาศยานทำการบินในท้องถิ่น (Local) หรือพื้นที่ทำการบินของสนามบินที่รับอนุญาตนั้น ก็ไม่บังคับเว้นแต่จะทำการบินตั้งแต่ 2 ลำขึ้นไป กรณีนี้แนะนำว่าควรใฃ้ทุกครั้ง  (เฉพาะแบบอากาศบานเบาพิเศษ Very Light Aircraft) เว้นแต่จะทำการบินเดินทางหรือที่เรียกกันว่า Cross Country ซึ่งนอกจากจะต้องใช้วิทยุย่าน Air Band แล้ว อากาศยานนั้นต้องมี Transponder เพื่อให้เรดาห์ทราบตำแหน่งการบินของอากาศยานด้วย..อีกอย่างหากท่านทำเสาอากาศติดกับอากาศยาน ท่านต้องขออนุญาตติดตั้งสถานีวิทยุประจำอากาศยานด้วย..(อากาศยานของสนามบินทองกวาวจะขออนุญาตครบทุกลำครับ..ท่านที่สนใจสามารถดูตัวอย่างได้ที่สนามบินทองกวาว)
      สำหรับการบินแบบ Cross Country นั้น จะต้องให้ทางสนามที่ท่านสังกัดอยู่ทำแผนการบิน (Flight Plan)เพื่อขออนุญาตจากกรมการบินพลเรือนก่อน ซึ่งปกติก็ล่วงหน้า 1 สัปดาห์ก่อนทำการบิน แต่ถ้าจะทำการบินประจำก็อาจขออนุญาตเป็นช่วงระยะเวลาได้เฃ่น ครั้งละ 2 เดือน..อย่างไรก็ตามในการทำการบินทุกครั้งท่านจะต้องติดต่อกับศูนย์ควบคุมการบินในพื้นที่ที่ท่านทำการบินก่อนขึ้นบินทุกครั้ง..ถ้าเป็นการบินแบบ Local ก็ใช้โทรศัพท์ติดต่อแจ้งให้ทราบก็ได้..ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของอากาศยานที่ทำการบินทั้งหมด

www.chiangmaiflying.com

กฤช

ต่อไป..ก็เป็นเรื่องของ ใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ (ใบอนุญาตนักบิน)ตามข้อ 5 ครับ..ซึ่งก็จะเข้าหัวข้อเรื่องที่ผมตั้งใจจะนำเสนอนั่นเองและขอนำเสนอเฉพาะเรื่องของไมโครไลท์นะครับ..ขอลำดับเป็นขั้นตอนดังนี้ครับ..
          1. ศึกษาแบบของอากาศยานที่ท่านสนใจ ซึ่งจะเป็นแบบไมโครไลท์ หรืออัลตราไลท์ ถ้าเป็นไมโครไลท์ ขนิด Flexed Wing)ก็เรียนเชิญท่านติดตามต่อครับ..ถ้าเป็นแบบอัลตราไลท์ชนิด Fixed Wing ตอนนี้ทางสนามยังไม่มีใช้ครับ..ก็ตั้งใจว่าอนาคตจะหามาประจำสนามครับ.เพราะอยากมีไว้รองรับเพื่อนนักบินที่เข้ามาเยี่ยมชมสนามซึ่งบ้างก็เป็นนักบินสายการบินต่างๆ ที่เกษียนงานมาแล้ว บางท่านกํยังทำงาอยู่กับสายการบิน เพราะเป็น Fixed Wing เหมือนกับที่ท่านนักบินทั่วโลกใช้อยู่ ..ต่างกับไมโครไลท์ที่ใช้ในลักษณะเป็นกิจกรรมอดิเรกเท่านั้น..อีกอย่างก็เรื่องของเครื่องยนค์ที่ใช้ในอากาศยาน..ถ้าเป็น 4 จังหวะ เสียงของเครื่องยนต์จะเบากว่า ประหยัดน้ำมันกว่า..บินได้นานกว่า.เหมาะสำหรับการบินเดินทาง (Cross Country) การดูแลรักษาง่ายกว่า และเครื่องยนต์มีราคาแพงกว่า ต่างกับเครื่องยนค์ 2 จังหวะต้องทำการถอดประกอบเครื่องเพื่อนำคารบอนที่ติดตามกระบอกสูบออกทุกๆ 50 ฃั่วโมง..ไม่เหมาะสำหรับการบินเดินทางระยะไกล...แต่เหมาะสำหรับสนามบินที่มีรันเวย์สั้น..สามารถใช้ระยะทางในการบินขึ้นสั้นกว่าประเภท 4 จังหวะ และเครื่องยนค์ 2 จังหวะจะมีราคาถูกกว่า 
          2. ทดลองนั่งดูก่อน..ทั้งนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจของท่านว่าชอบแบบไหน..และพร้อมที่จะทำการฝึกบินหรือไม่..บางท่านนั่งแล้ว..บอกสบายดี..ขอเป็นคนนั่งอย่างเดียว.ไม่ต้องขับเองก็มี..บางท่านบอกอยากจะขับเองเพราะเป็นอิสระดีในอากาศ..ก็มีมาก..สำหรับผมแล้ว..ผมเคยบินพารามอเตอร์มาประมาณ 500ไฟลท์ ในช่วงระยะเวลาปลายปี 2543- ต้นปี 2546 อีกทั้งเคยลองนั่งทั้งไมโครไลท์ และ อัลตราไลท์ และ เครื่องบินเล็ก ..ก็มาลงเอยที่ไมโครไลท์ครับ...แต่ด้วยเหตุผลใดผมขอผ่านไปก่อนนะครับ..เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาของท่าน
          3. หากตัดสินใจได้ว่าเป็นไมโครไลท์..ก็ถึงเวลาหาครูฝึกครับ..ที่เชียงใหม่มี 2 สนามที่รับฝึกบินกับไมโครไลท์  แต่ที่สนามบินทองกวาวจะรับทำการฝึกบินด้วยไมโครไลท์ที่เป็นเครื่องยนต์ 4 จังหวะเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องยนต์ 4 จังหวะมีเสียงดังน้อยกว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ไม่เป็นมลภาวะทางเสียงกับเพื่อนบ้านซึ่งหมายถึงการคงอยู่ของสนามในระยะยาวด้วย...อีกอย่างสนามบินมีความยาวรองรับถึง 450 เมตร..อีกทั้งทางวิ่งขึ้นลงมีความปลอดภัยทั้ง 2 ด้าน เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งขึ้นลงได้ทั้ง 2 ด้าน ..ซึ่งท่านควรนำไปประกอบการตัดสินใจของท่านว่า..หากท่านจบการเรียนแล้ว..ท่านจะใช้เครื่องประเภทใดทำการบิน..นอกจากนี้ควรทำการศึกษากฎระเบีนบ ค่าใฃ้จ่าย การบริการด้านการบิน และข้อจำกัดของสนามบินที่ท่านจะเข้าทำการฝึกด้วย..เพื่อว่าอนาคตหากท่านซื้อเครื่องมาใช้แล้วจะนำเครื่องไปใช้ที่สนามบินใด..ซึ่งท่านสามารถศึกษาได้จากเพื่อนนักบินในพื้นที่..หรือที่เคยใช้บริการได้..หรือเข้าไปสอบถามด้วยตนเองก็ดี...นอกจากนี้เท่าที่ทราบในภาคอีสานก็มีฝึกบินที่จังหวัดอุดรธานี..ภาคตะวันออกก็ที่พัทยาก็ที่สนามบินหนองปรือ(ครูฝึกเป็นฝรั่งชื่อทอม..และใช้ภาษาอังกฤษในการฝึกบิน)..และมีที่เกาะช้างครูฝึกชื่อครูนิมิตร....ขออภัยถ้าผมกล่าวไม่ครบ..ถ้าท่านทราบที่ไหนเพิ่มเติมกรุณาแจ้งให้ผมทราบด้วยครับ...ทั้งนี้เพื่อให้ท่านที่สนใจสามารถพิจารณาได้ครบถ้วนตามความเหมาะสมของนักเรียนเอง..
          4. เมื่อตัดสินใจเลือกสนามและครูฝึกได้แล้ว..หากเป็นที่สนามบินทองกวาว..จะแนะนำให้ท่านที่ทำการฝึกบินปฏิบัติตามกฎและระเบียบของกรมการบินพลเรือน..ซึ่งผู้ทำการฝึกบินจะต้องทำใบอนุญาตศิษย์การบิน(Student Pilot Licence) ให้ถูกต้อง..ซึ่งทางสนามจะให้คำแนะนำทีถูกต้อง..ซึ่งในการทำใบอนุญาตศิษย์การบินนั้น..ท่านต้องสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมด้านการบินทีกรมการบินพลเรือนรับรอง...เพื่อว่าทางสมาคมนั้นๆจะเป็นผู้รับรองการฝึกบินของท่านต่อกรมการบินพลเรือนเพื่อประกอบการขอใบอนุญาตศิษย์การบิน..(ท่านสามารถขอดูตัวอย่างใบอนุญาตศิษย์การบินได้ทีสนามบินทองกวาว..ซึ่งเป็นของนักเรียนศิษย์การบินหญิงตามที่ปรากฏในวีดีโอหน้าแรกของเว็บไซต์)
          5. เมื่อท่านได้รับใบอนุญาตศิษย์การบินแล้วก็เริ่มลงมือฝึกได้เลย..ทั้งนี้ให้ตกลงเวลาฝึกกับครูที่สนามบินนั้นๆได้โดยตรง...ซึ่งการมีใบอนุญาตศิษย์การบินที่ถูกต้อง..จะเป็นประโยชน์ต่อท่านในการลงบันทึกใน Pilot Log Book เพื่อนับระยะเวลาที่พำการบินเพื่อประกอบการขอสอบใบอนุญาตนักบินต่อไป

..ติดตามต่อนะครับ..
          
      

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 14/01/2011 - 07:07

กฤช

...ปัญหาที่ได้รับฟังมาจากการฝึกบิน...ก็เช่นกรณีครูฝึกประกอบธุรกิจรับผู้โดยสารขึ้นบินชมภูมประเทศ..หากเวลาเรียนตรงกัน..ครูก็จะให้เวลากับผู้โดยสารก่อน..ซึ่งบางครั้งเวลาเรียนจะคาบเกี่ยวกัน..ซึ่งท่านต้องตกลงกับครูฝึกให้ดีในกรณีดังกล่าว..ถ้าท่านมีเวลามากก็คงไม่เป็นปัญหา..แต่หากมีเวลาน้อย..ค่าใช้จ่ายด้านที่พัก..ค่าเดินทางก็อาจต้องเพิ่มขึ้นเพราะอาจต้องเดินทางกลับมาฝึกหลายๆครั้ง..และยิ่งเดินทางมาจากต่างจังหวัดยิ่งต้องให้ความสนใจในประเด็นดังกล่าวด้วย...ไม่รวมถึงบางท่านที่อาจใช้เป็นมีข้ออ้างกับทางบ้านได้..ฮา..

www.chiangmaiflying.com

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 14/01/2011 - 07:03

มานพ

....โ่อ้ ยังมีต่อใช่มั๊ยครับนี่ ไม่ง่ายเลยเน๊าะ  ยิ่งกว่าหัดขับรถหลายสิบเท่า .....

เว็บมาสเตอร์

ครับคุณมานพ..ยังมีอีกครับ..แต่ถ้าทำตามลำดับไปเรื่อยๆก็จะรู้ว่าไม่ยากครับ..
     อ้อ..ผมลืมบอกไปผู้ที่รับใบอนุญาตนักบินได้อย่างน้อยต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ด้วยครับ..ทั้งนี้ตามข้อบังคับกรมการบินพลเรือนฉบับที่ 43 เรื่องอากาศยานเบาพิเศษ (ตามทีเว็บได้ลงไว้ในหัวข้อประชาสัมพันธ์ครับ)
     สำหรับข้อบังคับฉบับนี้ก็ถือเป็นแนวทางของผู้เรียน และครูผู้สอนจะต้องปฏิบัติตามและทำการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฉบับนี้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับได้รับสิทธิในการขอรับการทดสอบเป็นนักบินอากาศยานเบาพิเศษต่อไป
     สำหรับการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตนั้นจะต้องผ่านการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคอากาศ โดยผู้เรียนจะต้องผ่านการทดสอบภาคทฤษฎีก่อน ถึงจะมีสิทธิสอบภาคอากาศ
     หลักเกณฑ์ของการฝึกบินที่จะนำไปประกอบการขอสอบภาคทฤษฎีก็คือนักเรียนศิษย์การบิน จะต้องมีชั่วโมงการฝึกบินไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง โดยมีชั่วโมงบินเดี่ยว(บินด้วยตนเองไม่มีครูการบินนั่งไปด้วย)ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และมีการบินขึ้นลงไม่น้อยกว่า 45 เที่ยว
    ซึ่งการขอสอบภาคทฎษฎี..ก็ต้องมีสมาคมด้านการบินที่กรมการบินพลเรือนรับรองด้วยจึงจะเข้ารับการสอบได้
โดยนักเรียนสามารถเลือกสถานที่สอบได้ว่าจะสอบที่กรมการบินพลเรือน หรือสถานที่กรมการบินพลเรือนกำหนด ซึ่งบางครั้งกำหนดให้สถานที่จัดงานสำคัญด้านการบินเป็นสถานที่สอบภาคทฤษฎีด้วย..ซึ่งท่านสามารถติดตามข่าวการเปิดสอบภาคทฤษฎีได้ตามเว็บไซต์ของกรมการบินพลเรือน หรือเว็บที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านการบินที่ปัจจุบันมีอยู่หลายที่
     เมื่อผ่านการสอบภาคทฤษฎีแล้ว ท่านจะต้องขอเข้าสอบภาคอากาศภายใน 1 ปี นับจากวันประกาศผลสอบภาคทฤษฎี..โดยท่านสามารถกำหนดสถานที่สอบภาคอากาศได้ซึ่งก็ต้องเป็นสนามบินที่ได้รับอนุญาตถูกต้องด้วย..และท่านจะต้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้เจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือนในการเดินทางมาทดสอบท่านด้วยครับ..ซึ่งอาจรวมถึงค่าที่พักด้วย(ถ้ามี)     

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 26/01/2011 - 16:13

เว็บมาสเตอร์

...สำหรับความรู้ที่ครูต้องสอนให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับอากาศยานเบาพิเศษก็ต้องเป็นไปตามข้อบังคับฯฉบับที่ 43 ข้อ 5 (3) ..มีดังนี้ครับ
  ก. ทฤษฎีการบินพื้นฐาน เครื่องวัดประกอบการบิน กฎการบิน และอุตุนิยมวิทยา
  ข. โครงสร้าง เครื่องยนต์ ระบบควบคุม สมรรถนะ และข้อจำกัดต่างๆของอากาศยานเบาพิเศษ
  ค. การถอดประกอบ และการซ่อมบำรุงรักษาขั้นพื้นฐานต่างๆที่กำหนดในคู่มือของอากาศยานเบาพิเศษ
  ง. กฎระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ถือใบอนุญาตนักบิน เครื่องบินส่วนบุคคล ประเภทอากาศยานเบาพิเศษ
  จ. การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย และวิธีปฏิบัติเพื่อหลีกเลียงการก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
ของบุคคลอื่น

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 13/01/2011 - 14:15

เว็บมาสเตอร์

......สำหรับสิทธิของผู้ถือใบอนุญาตนักบิน เครื่องบินส่วนบุคคลตามข้อ ง. นั้น มีระบุไว้ในข้อบังคับ ข้อ 7. ที่ว่า....สิทธิและหน้าที่ของผู้ถือใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล ประเภทอากาศยานเบาพิเศษ ให้เป็นไปตามข้อบังคับเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตแก่ผู้ประจำหน้าที่ และมีสิทธิทำการบิน ถอดประกอบ ซ่อมบำรุงรักษา รับรองการตรวจ การบำรุงรักษา และการบริการตามปกติของอากาศยานเบาพิเศษ แต่จะใช้สิทธินี้ไม่ได้ ถ้าหากผู้ถือใบอนุญาตมิได้ศึกษาให้ทันสมัยซึ่งข่าวสาร คำแนะนำ และคู่มือทั้งปวงเกี่ยวกับการบำรุงรักษา และความสมควรเดินอากาศของอากาศยานเบาพิเศษ

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 14/01/2011 - 07:04

เว็บมาสเตอร์

....แล้วค่าฝึกเรียนไมโครไลท์...คิดอย่างไร

           เท่าที่ผมทราบจากที่อื่น..ฃั่วโมงละ 4,000 บาท แต่ถ้ามีเครื่องเอง..ก็จะอยู่ในช่วงตั้งแต่ฃั่วโมงละ 1,000 - 2,000 บาท
           ปกติถ้าขยันฝึกบ่อยเช่นภายใน 1 เดือน..คอร์สหนึ่งก็น่าจะอยู่ที่ 15-18 ชั่วโมง ถ้าประมาณกะว่า 3 เดือน จบก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 20 ฃั่วโมงก็สามารถบินเดี่ยวได้ (Solo) แต่ถ้าฝึกบ้างไม่ฝึกบ้างลากยาวกันถึง 6 เดือน ก็มี อาจมีถึง 22 ชั่วโมง ทั้งนี้ก็ขึ้นกับความถี่ของการฝึก
           ...บางท่านถามว่า..แล้วบินร่มบินมาประมาณ 300 ชั่วโมง จะช่วยย่นระยะเวลาไหม...ผมขอเรียนว่า
อาจลดได้บ้างสัก 1 ฃั่วโมง..จากการเข้าใจภาษาการบินได้ง่ายขึ้น..และฟังครูฝึกพูดภาษาเดียวกัน(ประสาคนเคยบิน) ...ยิ่งครูฝึกเคยบินร่มบินมาก็ยิ่งเข้าใจง่ายเพราะครูจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายขึ้น...
           แต่อาการของร่มบิน กับ ไมโครไลท์ จะแตกต่างกัน..ตรงที่การรักษาแนวตรงจะยากกว่ากันมาก..นั่นหมายถึงการจัดแนวเพื่อเข้าแนวร่อนลงสู่สนาม..จะยากกว่ามาก.เพราะร่มบินใช้การบังคับเลี้ยวด้วยสายซึ่งเชื่อมต่อกับร่มซึ่งมีความนุ่มนวลกว่า..ทำได้ง่ายกว่า..และร่มมีความเร็วช้ากว่า..แตไมโครไลท์ปีกจะแข็งกว่า..และใช้คอนโทรลบาร์ในการควบคุมการเลี้ยว..เมื่อเลี้ยวแล้วอาการเลี้ยวมาเร็วกว่า..และถ้าไม่คืนดักหน้า.อาการเลี้ยวจะมีผลให้ห่างแนวร่อนเร็วกว่า...ฉะนั้นความยากจึงอยู่ที่การแก้อาการต่างๆที่เกิดเร็วกว่ากัน..การรักษาแนวร่อนลงจึงมีความละเอียดกว่าร่มบิน..ซึ่งก็คืออาศัยการตอบสนองที่เร็วกว่ากัน..ต้องรู้เท่าทันอาการที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ
           
     
Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

อากาศยาน

ประชาสัมพันธ์

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

 HOME

 CONTACT

view