สนุก! ความรู้
http://www.chiangmaiflying.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 HOME

 MAP

 HOW TO GO

 GALLERY

 VIDEO

 WEB BOARD

 LINK

 CONTACT

 LOCATION

สถิติ

เปิดเว็บ20/02/2009
อัพเดท27/10/2023
ผู้เข้าชม995,509
เปิดเพจ1,339,520

บริการ

AIRFIELD
AIRCRAFT
CLUB
MEMBERSHIP
LEARN TO FLY
HOW TO GO
เว็บบอร์ด
GALLERY
VIDEO
THAI SATELLITE
RAIN RADAR
NORTH CENTER (MET OFFICE)
GOOGLE TRANSLATOR

ถ้าเครื่องดับ..จะอันตรายหรือไม่

(อ่าน 1978/ ตอบ 2)

ทองกวาว

ในการฝึกบินไมโครไล์..นักเรียนจะได้รับการฝึกในการบินกรณีฉุกเฉินดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาในกรณีเครื่องดับด้วย..และในการทดสอบเพื่อรับใบอนุญาตนักบินก็จะมีการทดสอบภาคอากาศในกรณีดังกล่าวด้วย..แต่จะไม่ดับเครื่องในขณะฝึกบินหรือทดสอบการบิน..เพียงแต่ให้ลดการใช้เครื่องยนต์เบาสุดเท่านั้น..
    สำหรับตัวอย่างวีโดโอนี้..เป็นการบินของครูฝึก Paul Hamilton ในอเมริกาที่แสดงให้เห็นการแก้ไขปัญหาในกรณีเครื่องดับจริงๆ
   




ืทองกวาว

สำหรับความปลอดภัยนั้น...หากได้รับการฝึกที่ดี...บวกกับประสบการณ์ของนักบินแล้ว..นักบินแทบจะไม่เป็นอะไรเลยหากเกิดกรณีดังกล่าว...หมายถึงการเลือกสถานที่กรณีฉุกเฉิน...เช่นหลีกเลี่ยงการบินลงเหนือน้ำ..ป่า...ถนนที่มีเสาไฟหรือสายไฟ..สำหรับท้องนาก็ให้เลือกลงบริเวณที่มีท้องนายาว..หรือจำเป็นก็ทีมีคันนาต่ำเป็นต้น
     กรณีฉุกเฉินดังกล่าวแทบจะไม่เกิดขึ้นหากนักบินได้ตรวจดูแลรักษาอากาศยานตามคู่มือ..และปฏิบัติตามคู่มือที่ผู้ผลิตให้มา เช่น
     กรณีเครื่องยนต์ ก็ให้ตรวจระดับน้ำมันเครื่องประจำวัน...ตรวจหัวเทียนทุก 25, 50 ชั่วโมง..ตรวจระดับน้ำมันเชื้อเพลิง..และอื่นๆตามคู่มือ
     กรณีตัวลำอากาศยาน..ให้ตรวจสภาพรูปร่างที่ปกติเช่น.ล้อทุกล้อไม่มีสภาพผิดปกติ..ลำตัวไม่ผิดปกติ(ผิดปกติอาจเกิดจากการร่อนลงที่ไม่นิ่มนวลที่เรียกกันว่า HARD LANDING..อาจทำให้น๊อตยึดโครงล้อกับลำตัวคลายเกลียวหรือขาดได้..ทำให้โครงล้อขาดความสมดุลได้ก็สามารถสังเกตได้จากการตรวจสอบประจำวัน(จริงๆแล้วจะต้องตรวจสอบทันที่หลังการร่อนลงในลักษณะดังกล่าว)..นอกจากนี้ยังพบกรณีฐานล้อไม่แข็งแรงสำหรับการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานก็มี..การตรวจประจำวันจะช่วยให้ท่านปลอดภัยก่อนทำการบินในวันนั้น..(ผู้เขียนติดนิสัยจากการตรวจสภาพดังกล่าวทุกครั้ง..และทำให้ติดนิสัยมาใช้กับรถยนต์ที่ใช้ประำวันด้วย..โดยสละเวลาเพียงวันละเล็กน้อยเอง..)
     สำหรับปีกก็ต้องตรวจดูสภาพโดยรวม..น๊อตยึดจุดที่ใช้แขวนปีก..และความปกติของสลิงทุกครั้งก่อนจะทำการบิน..เป็นต้น
     นอกจากนี้ให้ปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติก่อนทำการบินทุกครั้งเช่น การวอร์มอัพให้ถึงระดับอุณหภูมิที่คู่มือเครื่องยนต์กำหนดโดยสังเกตุจากเครื่องวัด และการทดสอบอัตราเร่งของเครื่องยนต์ตามที่คู่มือกำหนด...ปกติเครื่องยนต์หรับอากาศยานจะมีหัวเทียนคู่..จึงให้ทำการทดสอบโดยปิดเปิดการใช้เครื่องยนต์ด้วยหัวเทียนครั้งละชุดจนครบ 2 ชุด(ตามค่าที่กำหนดในคู่มือของอากาศยานนั้นๆเช่น ที่ 3,000 รอบ รอบที่ลดลงเมื่อทดสอบด้วยการใช้หัวเทียนชุดเดียวต้องไม่เกินกว่า 300 รอบ และทดสอบอัตรารอบสูงสุดในการใช้หัวเทียนปกติที่ 2 ชุดอีกครั้งหนึ่งโดยอัตรารอบสูงสุดได้ตามที่ตั้งค่าไว้..การทดสอบนี้จะกระทำก่อน TAKE OFF ทุกครั้ง (ปกติเรียกว่า Preflight Test) หากปกติจึงจะทำการบินในครั้งนี้นได้
     สิ่งสำคัญในขณะทำการบินก็คือตัวนักบินเอง..จะต้องทำการบินด้วยความปลอดภัย..ไม่บินด้วยท่าทางที่ผาดแผลง..หรือเสี่ยงต่อความเสียหายของตัวอากาศยาน..เช่นเกินค่าที่ผู้ผลิตกำหนดมา..ซึ่งกรณีอุบัติเหตุหลายครั้งที่เกิดขึ้นตามสถิติที่ผ่านมาพบว่ามักเกิดจากตัวนักบินเป็นหลัก.... ฉะนั้นจึงตีองทำการบินตามกฎการบินอย่างเคร่งครัด...
     สำหรับอากาศยานที่ทางสนามใช้มีการผลิต หรือประกอบขึ้น ด้วยชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐาน..และเครื่องยนต์สำหรับอากาศยานโดยตรง..จะมีความเสี่ยงในกรณีเครื่องดับน้อยมาก...
     นอกจากนี้ความเอาใจใส่ของนักบินและหมั่นสังเกตุอาการที่ผิดปกติ..และหาสาเหตุที่เกิดขึ้นได้ทัน..ก็เป็นการลดความเสี่ยงลงได้มากทีเดียว..เช่นเมื่อทำการติดเครื่องวอร์มอัพเครื่องยนต์แล้วพบเสียงดังผิดปกติของเครื่องยนต์ก็ต้องดับเครื่อง..แล้วหาสาเหตุให้เจอ..หากแก้ไขไม่ได้ให้งดทำการบินในวันนั้น..แล้วให้ช่างที่ชำนาญตรวจสอบแก้ไขต่อไป..ห้ามฝืนทำการบินทั้งที่อาการดังกล่าวยังไม่หาย..
     สำหรับขณะทำการบินก็ต้องสังเกตุเครื่องวัดที่มีอยู่ด้วยเช่น อุณหภูมิของเครื่องยนต๋..หม้อน้ำ(ถ้ามี)..ต้องปกติและสัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์โดยไม่ใช้รอบเครื่องยนต์เกินค่าอุณหภูมิที่คู่มือกำหนด..ยิ่งการบินด้วยรอบเครื่องยนต์ที่สูง..หรือใช้ความเร็วสูงระยะเวลานาน..ก็ให้หมั่นคอยสังเกตุ..หากพบว่าอุณหภูมิสูงเกือบจะเกินค่าที่กำหนด..ก็จะได้ลดรอบการใช้เครื่องยนต์ลง..อุณหภูมิก็จะกลับมาปกติอีกครั้ง...สำหรับการบินในลักษณะครุยส์หรือความเร็วเดินทางสมำ่เสมอมักจะไม่เกิดกรณีอุณหภูมิสูงหากน้ำหนักรวมของอากาศยานไม่เกินค่าที่กำหนดไว้...

เจ้าของเว็บไซต์ แก้ไขเมื่อ 08/08/2011 - 05:07

เว็บมาสเตอร์

...สำหรับปีกของไมโครไลท์..จะมีข้อดีสำหรับการร่อนลงในกรณีฉุกเฉิน..ที่สามารถเพิ่มระยะร่อนด้วยการโยกคอนโทรลบาร์ไปหน้าสลับกันหลายครั้งได้... หรือลดระยะร่อนได้รวดเร็ว..ด้วยการดึงคอนโทรลบาร์เข้าหาตัวพร้อมทั้งขยับหรือสไลด์คอนโทรลบาร์ซ้ายและขวาไปด้วย...
Page : 1
Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

อากาศยาน

ประชาสัมพันธ์

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

 HOME

 CONTACT

view